หน้าเว็บ

Assignment 3 (ITM 640) : Cloud Computing

00:59 Posted by Beekie39

Cloud Computing

(ระบบประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ)

Cloud Computing คือวิธีการประมวลผลที่อิงกับความต้องการของผู้ใช้ โดยผู้ใช้;ระบุความต้องการไปยังซอฟต์แวร์ของระบบCloud Computing จากนั้นซอฟต์แวร์จะร้องขอให้ระบบจัดสรรทรัพยากรและบริการให้ตรงกับความต้องการผู้ใช้ ทั้งนี้ระบบสามารถเพิ่มและลดจำนวนของทรัพยากร รวมถึงเสนอบริการให้พอเหมาะกับความต้องการของผู้ใช้ได้ตลอดเวลา โดยที่ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องทราบเลยว่าการทำงานหรือเหตุการณ์เบื้องหลังเป็นเช่นไร

Cloud Computing คือ บริการทางอินเตอร์เน็ตที่เป็นแบบการรวบรวมทรัพยากรต่างๆที่จำเป็นมาเชื่อมโยงไว้ด้วยกัน โดยมีการทำงานสอดประสานกันแบบรวมศูนย์ โดยผู้จัดสรรทรัพยากรนั้นเรียกว่า third-party Provider หรือผู้ให้บริการบุคคลที่ 3 มีหน้าที่รวบรวมพื้นฐานต่างๆที่จำเป็นเข้าไว้ด้วยกันการใช้ทรัพยาการคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต และระบบสารสนเทศแบบเสมือนจริง Cloud Computing จะทำงานโดยเมื่อผู้ขอใช้บริการต้องการใช้สิ่งใดก็ส่งร้องขอไปยังซอฟแวร์ระบบ แล้วซอฟแวร์ระบบก็จะร้องขอไประบบเพื่อจัดสรรทรัพยากรและบริการให้ตรงกับความต้องการของผู้ขอใช้บริการต่อไป โดยผู้ขอใช้บริการมีหน้าที่เสียค่าใช้บริการเพื่อความสามารถในการทำงานตามต้องการโดยไม่ต้องทราบหรือเข้าใจหลักการทำงานเบื้องหลัง

clip_image002

รูปที่ 1

จากรูปเป็นการแสดงหลักการทำงาน โดยจะเห็นได้ว่าแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ client กับ server ซึ่งจะเห็นได้ว่าทางฝั่งของ client จะมีแค่คอมพิวเตอร์ คือ client แค่มี web browser เพื่อเปิดเรียกใช้การทำงานก็เพียงพอแล้ว ส่วน server ก็ทำหน้าที่ประมวลผลต่างๆให้ผู้ขอใช้บริการ

นิยามความหมายของคำหลักๆ 3 คำที่เกี่ยวข้องกับ Cloud Computing

  • ความต้องการ (Requirement) ปัญหาที่ผู้ใช้ต้องการให้ระบบคอมพิวเตอร์แก้ไขปัญหาหรือตอบปัญหาตาม ที่ผู้ใช้กำหนดได้ ยกตัวอย่างเช่น ความต้องการพื้นที่จัดเก็บข้อมูลขนาด 1,000,000 GB, ความต้องการประมวลผลโปรแกรมแบบขนานเพื่อค้นหายารักษาโรคไข้หวัดนกให้ได้สูตรยาภายใน 90 วัน, ความต้องการโปรแกรมและพลังการประมวลผลสำหรับสร้างภาพยนต์แอนนิเมชันความยาว 2 ชั่วโมงให้แล้วเสร็จภายใน 4 เดือน, และความต้องการค้นหาข้อมูลท่องเที่ยวและโปรแกรมทัวร์ในประเทศอิตาลีในราคาที่ถูกที่สุดในโลกแต่ปลอดภัยในการเดินทางด้วย เป็นต้น
  • ทรัพยากร (Resource) หมายถึง ปัจจัยหรือสรรพสิ่งที่เกี่ยวข้องกับการประมวลผลหรือเกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาตามโจทย์ที่ความต้องการของผู้ใช้ได้ระบุไว้ อาทิเช่น CPU, Memory (เช่น RAM), Storage (เช่น harddisk), Database, Information, Data, Network, Application Software, Remote Sensor เป็นต้น
  • บริการ (Service) ถือว่าเป็นทรัพยากร และในทางกลับกันก็สามารถบอกได้ว่าทรัพยากรก็คือบริการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้าน Cloud Computing แล้ว เราจะใช้คำว่าบริการแทนคำว่าทรัพยากร คำว่าบริการหมายถึงการกระทำ (operation) เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่สนองต่อความต้องการ (requirement) แต่การกระทำของบริการจะเกิดขึ้นได้จำเป็นต้องพึ่งพาทรัพยากร โดยการใช้ทรัพยากรที่เกี่ยวข้องเพื่อแก้ปัญหาให้เกิดผลลัพธ์สนองต่อความต้องการ

clip_image004

รูปที่ 2 Cloud computing begins to emerge from the haze

มีการให้คำจำกัดความจากบริษัทต่างๆไว้

บริษัท Gartner กล่าวว่า ระบบการประมวลผลแบบกลุ่มเมฆคือ แนวทางการประมวลผลที่พลังของโครงสร้างทางไอทีขนาดใหญ่ที่ขยายตัวได้ถูกนำ เสนอยังลูกค้าภายนอกจำนวนมหาศาลในรูปแบบของบริการ

ฟอเรสเตอร์กรุ๊ป กล่าวว่า การประมวลผลแบบกลุ่มเมฆคือ กลุ่มของโครงสร้างพื้นฐานที่ถูกบริหารจัดการและขยายตัวได้อย่างมาก ซึ่งมีขีดความสามารถในการรองรับโปรแกรมประยุกต์ต่างๆของผู้ใช้และเก็บค่า บริการตามการใช้งาน โดยการอิงหลักการของ Grid Computing, Utility Computing และ SaaS

อะไรคือ Grid Computing, Utility Computing และ SaaS

Grid Computing คือวิธีการประมวลผลที่เกิดจากการแชร์ทรัพยากร(อย่างเช่น CPU สำหรับการประมวลผล)ระหว่างองค์กรหรือหน่วยงานที่ใช้นโยบายแตกต่างกันไป (คนละบริษัทหรือคนละแผนก) อย่างเช่น องค์กร A กับองค์กร B ต้องการแชร์คอมพิวเตอร์ส่วนหนึ่งเพื่อประมวลผลโปรแกรมหรือระบบงานเดียวกัน เมื่อองค์กรที่แตกต่างแชร์ทรัพยากรร่วมกันย่อมมีนโยบายที่ไม่เหมือนกัน เช่นการกำหนดสิทธิและขอบเขตในการใช้ทรัพยากรที่แตกต่างกัน เป็นต้น และจำเป็นต้องอาศัยระบบรักษาความปลอดภัยที่มีประสิทธิภาพ

clip_image006

รูปที่ 3

รวมไปถึงความต้องการระบบ Single-Sign-On (หรือการล็อกอินครั้งเดียว แต่สามารถเข้าถึงคอมพิวเตอร์ได้หลายเครื่องหรือใช้โปรแกรมได้หลายโปรแกรม) ทั้งนี้ เนื่องจากมีคอมพิวเตอร์ขององค์กรที่แตกต่างกันเข้ามาเกี่ยวข้องระบบuser accountในการล็อกอินเข้าใช้งานระบบย่อมไม่เหมือนกัน จึงต้องพึ่งพาระบบ Single-Sign-On นั่นเอง การประมวลผลแบบอุทิศ (Volunteer Computing) คือรูปแบบหนึ่งของการกระจายการประมวลผล (distributed computing) โดยผู้คนสามารถอุทิศทรัพยากรคอมพิวเตอร์ส่วนตัวเพื่อใช้ในการประมวลผลงาน (หรือโปรแกรม) ของโครงการหนึ่งๆได้

Utility Computing เป็นหลักการแชร์ทรัพยากรที่คล้ายกับGrid Computing เพียงแต่ว่าทรัพยากรจะถูกมองเสมือนว่าเป็นบริการสาธารณูปโภค (เช่น ไฟฟ้า น้ำประปา และโทรศัพท์) โดยบริการเหล่านี้ ผู้ใช้สามารถจ่ายเงินเพื่อใช้งานได้ตามที่ต้องการ และเวลาจ่ายเงิน ก็จ่ายตามจำนวนหรือช่วงเวลาที่ใช้งานจริง

SaaS ย่อมาจาก Software as a Service เป็นรูปแบบการให้บริการซอฟต์แวร์หรือapplicationบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ทำให้ลูกค้าที่ออนไลน์บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตใช้บริการซอฟต์แวร์เหล่านี้ ได้โดยไม่จำเป็นต้องติดตั้งซอฟต์แวร์ไว้ที่หน่วยงานหรือคอมพิวเตอร์ของลูกค้าโดย SaaS เป็นหลักการที่ตรงกันข้ามกับOn-premise software อันเป็นการติดตั้งซอฟต์แวร์ไว้ที่ทำงานหรือคอมพิวเตอร์ของลูกค้าโดยสถาปัตยกรรมพื้นฐานของ Volunteer Computing จะประกอบไปด้วยคอมพิวเตอร์เซิร์ฟเวอร์หนึ่งเครื่องหรือ หนึ่งกลุ่ม ที่ทำหน้าที่ในการกระจายการประมวลผลไปให้คอมพิวเตอร์ที่อุทิศตัวเองอยู่บน เครือข่าย นอกจากนี้เซิร์ฟเวอร์ยังทำหน้าที่ในการรวบรวมและบันทึกผลลัพธ์จากการประมวล ผลอีกด้วย โครงการแรกๆที่จัดได้ว่าเป็น Volunteer Computing คือ Great Internet Mersenne Prime Search (GIMPS) สำหรับค้นหาจำนวนเฉพาะประเภท Mersenne Prime โครงการนี้เปิดตัวเมื่อปี 1996 จากนั้นในปี 1999 ก็เกิดโครงการ SETI@home ขึ้นมา ซึ่งถือว่าเป็นโครงการที่สร้างความโด่งดังให้กับการประมวลผลแบบ Volunteer Computing เลยทีเดียว หลังจากนั้น SETI@home หรือโครงการอื่นๆที่เป็นVolunteer Computing ก็เกิดขึ้นตามมา หลายโครงการทีเดียวลงท้ายด้วยคำว่า @home ส่วนใหญ่ใช้โปรโตตอลและไลบราลีในการพัฒนาของโครงการที่ชื่อว่า BOINC นอกจากนี้แล้ว ยังมีซอฟต์แวร์อื่นๆที่มีลักษณะเช่นเดียวกับ BOINC อาทิเช่น Xgrid ของ Apple และ Grid MP ของ United Devices คำจำกัดความของระบบประมวลผลกลุ่มเมฆ เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปในวงการไอทีตั้งแต่ช่วงปลายทศวรรษ 1990 โดยเมื่อต้นปี 2007 Dell ได้ยื่นขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า "Cloud Computing" สำหรับผลิตภัณฑ์ฮาร์ดแวร์ประเภทศูนย์ข้อมูล (Data Center) และสภาพแวดล้อมของระบบประมวลผลที่ปรับเปลี่ยนขนาดได้ขนาดใหญ่ (Mega-scale computing environment) แต่ในที่สุดเมื่อ สำนักสิทธิบัตรและเครื่องหมายการค้าแห่งสหรัฐอเมริกา (United States Patent and Trademark Office : USPTO) ได้ใช้เวลาพิจารณากว่า 1 ปี การยื่นขอจดทะเบียนของ Dell ได้รับการปฏิเสธโดย USPTO ระบุว่า ระบบปฏิบัติการกลุ่มเมฆเป็นคำที่ใช้กันโดยทั่วไปในอุตสาหกรรมไอที หมายถึงแอพพลิเคชั่นการประมวลผลทางไกล (Remote Computing Applications) ทั้งนี้กลุ่มเมฆเปรียบเสมือน เครือข่ายอินเตอร์เน็ต กลุ่มเมฆที่ปกคลุมท้องฟ้ามีการเชื่อมโยงกันเป็นผืน เมฆเดียวกันห่อหุ้มโลกใบนี้ไว้ เช่นเดียวกับเครือข่ายอินเตอร์เน็ตที่มีการเชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ จำ น ว น ม า ก ห ล า ย เ ค รื่อ ง จ า ก ทั่ว ทุก มุม โ ล ก เ ป็น เ ค รือ ข่า ย ใ ย แ ม ง มุม ข น า ด ใ ห ญ่ นอกจากนี้กลุ่มเมฆยังทำหน้าที่ "ปิดบังซ่อนเร้น" ไม่ให้เรามองเห็นสิ่งที่เกิดขึ้น ณ จุดที่สูงขึ้นไป กระบวนการควบแน่นไอน้ำเป็นปุยเมฆ ปรากฏการณ์ฟ้าร้อง ฟ้าแลบ ฟ้าผ่า เกิดขึ้นได้อย่างไร เป็นสิ่งที่มนุษย์บนพื้นโลกไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง เพียงแต่ได้รับผลลัพธ์ที่เกิดเป็นปริมาณน้ำฝน ได้ยินเสียงฟ้าร้อง ได้เห็นแสงฟ้าแ ล บ แ ล ะ ฟ้า ผ่า โ ด ย ไ ม่จำ เ ป็น ต้อ ง รับ รู้ ห รือ เ กี่ย ว ข้อ ง กับ กิจ ก ร ร ม เ บื้อ ง บ น นั้นเปรียบเสมือนระบบเสมือนจริง (Virtualization) ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ ทำหน้าที่เพียงติดต่อส่วนของผู้ใช้ (User Interface) เพื่อแสดงผลและรับคำสั่ง และสื่อสารไปยังบริการต่าง ๆ บนกลุ่มเมฆคอมพิวเตอร์เพื่อการจัดเก็บและเรียกใช้ข้อมูล ประมวลผล และ ใช้โปรแกรมประยุกต์ (Application Programs) ที่หลากหลายในสภาพแวดล้อมของระบบประมวลผลกลุ่มเมฆ การจัดการงานหนึ่งชิ้น ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องมีซอฟต์แวร์โปรแกรมแอพพลิเคชั่น เพียงแต่ต้องมีอุปกรณ์ (Device) ที่สามารถเชื่อมต่อเข้าสู่เครือข่ายอินเตอร์เน็ต เช่นเครื่องคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์แบบ VOIP โทรศัพท์เคลื่อนที่ หรือ PDA ก็จะสามารถใช้บริการซอฟต์แวร์จากผู้ให้บริการผ่านเซิร์ฟเวอร์หลายเครื่องบนเครือข่าย ในรูปแบบการประมวลผลแบบกระจาย (Distributed Computing) เช่นเริ่มต้นจากการดึงข้อมูล (Data) อาจถูกเรียกจากดาต้าเบสเซิร์ฟเวอร์ที่อยู่ในประเทศ จากนั้นข้อมูลชุดดังกล่าวจะถูกส่งไปประมวลผลด้วยซอฟต์แวร์บนเซิร์ฟเวอร์อีกตัวหนึ่งในต่างประเทศ หมายความว่า กระบวนการทำงานใด ๆ ก็ตามจะเริ่มรับคำสั่ง (Input) จากผู้ใช้ การประมวลผลที่ซับซ้อนมาก ๆ อาจเกิดบนเซิร์ฟเวอร์มากกว่า 1 เครื่องบนอินเตอร์เน็ต จากนั้นจึงนำผลที่ได้ส่งกลับไปเป็นผลลัพธ์ (Output) บนหน้าจอของผู้ใช้ อุปกรณ์ของผู้ใช้จึงทำหน้าที่เป็นเพียงเทอร์มินัลแบบกราฟฟิกที่ติดต่อผู้ใช้ผ่านเว็บบราว์เซอร์ระบบประมวลกลุ่มเมฆ อาจสับสนว่าเหมือนหรือแตกต่างจากระบบประมวลแบบกริด (Grid Computing) ไอบีเอ็มได้ให้ความเห็นไว้ว่าระบบประมวลผลแบบกริด เป็นการนำความสามารถของคอมพิวเตอร์หลาย ๆ เครื่องมาเชื่อมต่อกันเพื่อแบ่งปันประสิทธิภาพเช่นเดียวกับระบบประมวลผลกลุ่มเมฆ อย่างไรก็ตามระบบประมวลผลแบบกริดเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์สำหรับงานเฉพาะทาง กล่าวคือเป็นการสร้างเครือข่ายเพื่องานใดงานหนึ่ง สำหรับองค์กรใดองค์กรหนึ่งเท่านั้น แต่ระบบประมวลผลกลุ่มเมฆ เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงกันหมดทั้งอินเตอร์เน็ต และทำงานร่วมกัน เพื่อให้บริการที่หลากหลายรูปแบบแก่ผู้ใช้ทั่วทุกมุมโลก ที่มาของระบบประมวลผลกลุ่มเมฆคือแนวคิดการแบ่งงานกันทำ โดยผู้ใช้ในระดับองค์กรธุรกิจและระดับบุคล ไม่จำเป็นต้องให้ความสำคัญกับงานไอทีในองค์กร แต่สามารถโฟกัสไปยังธุรกิจหลัก (Core Business) ของตนเองได้อย่างเต็มที่ และสามารถถ่ายโอนงานด้านไอทีทั้งหมด (Outsource) ไปยังผู้ให้บริการไอทีผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ซึ่งจะก่อให้เกิดการประหยัดต่อขนาด (Economies of scale) ของไอทีทั้งด้านประสิทธิภาพในการประมวลผลและขนาดของพื้นที่จัดเก็บข้อมูล จึงไม่จำเป็นต้องลงทุนด้วยเม็ดเงินจำนวนมาก ๆ เพื่อติดตั้งระบบไอที หรือว่าจ้างบุคลากรมาบริหารจัดการเทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา และที่สำคัญคือเมื่อเทคโนโลยีไอทีมีการพัฒนาต่อยอดขึ้นไป ผู้ใช้จะมีความยืดหยุ่นที่จะสามารถใช้บริการเทคโนโลยีใหม่ ๆ ได้ทันที ขณะที่ผู้ให้บริการก็สามารถอัพเกรดเทคโนโลยีการให้บริการได้อย่างยืดหยุ่นบนสถาปัตยกรรม Service-oriented architecture

clip_image008

รูปที่ 4

องค์ประกอบของระบบประมวลผลกลุ่มเมฆ

ระบบประมวลผลกลุ่มเมฆ จำเป็นต้องอาศัยองค์ประกอบที่สำคัญคือ

  • · อินเตอร์เน็ตที่มีช่องสัญญาณสูงจนเกือบจะไม่มีจำกัด (Nearly unlimited bandwidth)
  • · เทคโนโลยีระบบเสมือนจริง (Increasingly sophisticated virtualization technologies)
  • · สถาปัตยกรรมเครือข่ายที่รองรับการเข้าถึงพร้อมกันจำนวนมาก (Multitenant Architectures)
  • · ลักษณะการใช้งานได้ของเซิรฟ์เวอร์ประสิทธิภาพสูง (Availability of extremely powerful servers)

จุดเด่นของ Cloud Computing

1) Agility : มีความรวดเร็วในการใช้งาน

2) Cost : ค่าใช้จ่ายน้อย หรืออาจไม่เสียค่าใช้จ่ายสำหรับ Client

3) Device and Location Independence : ใช้ได้ทุกที่แค่มีคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ต

4) Multi-Tenancy : แบ่งการใช้ทรัพยากรให้ผู้ใช้จำนวนมากได้

5) Reliability : มีความน่าเชื่อถือ

6) Scalability : มีความยืดหยุ่น

7) Security : มีความปลอดภัย

8) Sustainability : มีความมั่นคง

ข้อดีของ Cloud Computing

1) ลดต้นทุน

2) ลดความเสี่ยงการเริ่มต้น หรือการทดลองโครงการ

3) สามารถลดหรือขยายได้ตามความต้องการ

4) ประสิทธิภาพสูง

5) อยู่ภายใต้การดูแลของผู้เชี่ยวชาญ

ข้อเสียของ Cloud Computing

1) จากการที่มีทรัพยากรที่มาจากหลายแห่ง จึงอาจเกิดปัญหาด้านความต่อเนื่องและความรวดเร็ว

2) ยังไม่มีการรับประกันในการทำงานและความปลอดภัย

3) แพลทฟอร์มยังไม่ได้มาตรฐาน

สามเหลี่ยมกลุ่มเมฆ

clip_image010

รูปที่ 5 Introducing the Cloud Pyramid

ระบบปฏิบัติการกลุ่มเมฆประกอบด้วยบริการที่สำคัญ 3 ส่วนคือโครงสร้างพื้นฐาน แพลทฟอร์ม และ แอพพลิเคชั่น

โครงสร้างพื้นฐานกลุ่มเมฆ (Cloud Infrastructure)

ผู้ให้บริการโครงสร้างพื้นฐาน เป็นระดับเริ่มต้นของสภาพแวดล้อมระบบประมวลผลกลุ่มเมฆในลักษณะของเครื่องคอมพิวเตอร์เสมือน (Virtual Machine) ให้บริการด้านการจัดสมดุลปริมาณงาน (Loadbalancing) และพื้นที่จัดเก็บข้อมูล (Storage) รองรับแพลทฟอร์มกลุ่มเมฆ และแอพพลิเคชั่นกลุ่มเมฆ ผู้ให้บริการโครงสร้างพื้นฐานสามารถปรับเปลี่ยนคุณสมบัติ บริการ และควบคุมระบบประมวลผลกลุ่มเมฆได้สูงสุด โดยเป็นผู้ให้บริการระดับควบคุมทั้งหมดของโครงสร้างเซิร์ฟเวอร์ตัวอย่างผู้ให้บริการโครงสร้างพื้นฐาน

เช่น Amazon's EC2 , GoGrid , RightScale

แพลทฟอร์มกลุ่มเมฆ (Cloud Platform)

ผู้ให้บริการแพลทฟอร์มจะกำหนดมาตรฐานของแอพพลิเคชั่นสำหรับผู้พัฒนา แต่แพลทฟอร์มจำเป็นต้องขึ้นกับลักษณะของโครงสร้างพื้นฐานของเครื่องคอมพิวเตอร์เสมือน ตัวอย่างผู้ให้บริการแพลทฟอร์มกลุ่มเมฆ เช่น

Google App Engine , Heroku , Mosso , Engine Yard , Joyent , force.com(Saleforce platform)

แอพพลิเคชั่นกลุ่มเมฆ (Cloud Application)

การให้บริการซอฟต์แวร์บนเครือข่ายในลักษณะ SAAS (Software As A Service) โดยรูปแบบให้บริการเป็นลักษณะ Virtualization กล่าวคือเป็นเว็บแอพพลิเคชั่น มีส่วนติดต่อกับผู้ใช้ (User interface) บนหน้าเว็บเบราว์เซอร์ โดยแยกส่วนโปรแกรมและส่วนประมวลผลอยู่บนเครือข่าย ผู้ใช้จึงไม่จำเป็นต้องติดตั้งแอพพลิเคชั่นในเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่นบริการ Hotmail , Gmail , Quicken Online , Google Doc. , SalesForce , Online banking service

มาตรฐานของระบบประมวลผลกลุ่มเมฆ

ระบบประมวลผลกลุ่มเมฆใช้มาตรฐานแบบเปิด (open standard) เช่น Browsers (Ajax) , Communications (HTTP, XMPP) , Data (XML,JSON) , Offline (HTML5) , Management (OVF) , Security (OAuth, OpenID, TLS) , Solution stacks (LAMP) , Syndication (Atom) , Web Service (REST)

การประยุกต์ใช้ระบบประมวลผลกลุ่มเมฆ

ในปัจจุบันมีผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมไอทีเปิดให้บริการเช่น

บริการแอพพลิเคชั่นกลุ่มเมฆ (Cloud Application)

เป็นแอพพลิเคชั่นที่เปิดให้บริการบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต โดยผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องติดตั้ง หรือรันแอพพลิเคชั่นที่เครื่องคอมพิวเตอร์ แต่เป็นการใช้บริการรันแอพพลิเคชั่นผ่านเครือข่ายจึงไม่ต้องมีภาระในการบำรุงรักษาซอฟต์แวร์ การดูแลในระดับปฏิบัติการ หรือระบบสนับสนุน ตัวอย่างเช่น Peer-to-peer/Volunteer Computing (Bittorent, SETI, Skype) , Web application (Facebook) , Software As A Service (Google Apps,Google Docs,Salesforce) , Software plus services (Microsoft Online service) ,

ระบบปฏิบัติการโฉมใหม่ Cloud OS

clip_image012

รูปที่ 6

หลังจากประสบความสำเร็จมากพอสมควรกับข้อตกลงกับ วอล-มาร์ต ให้ขายคอมพิวเตอร์ ที่ลงระบบปฏิบัติการ gOS และตามที่วอล-มาร์ตแจ้งก็ปรากฏว่าเสียงตอบรับจากลูกค้าค่อยข้าง ดี เน็ตบุ๊กยี่ห้อ เอเวอเรกซ์ ซึ่งมีขายในบ้านเราด้วยก็ใช้ระบบปฏิบัติการ gOS เหมือนกันล่าสุด Good OS เปิดตัวระบบปฏิบัติการแบบใหม่ gOS Cloud ที่ทำงานผ่านเว็บบราวเซอร์ เวลาบูตเครื่องขึ้นมาแทนที่มันจะเข้าไปยังเดสก์ทอปปกติเหมือนระบบปฏิบัติการอื่นๆ ที่ใช้กันจนคุ้นเคย Cloud จะพาเราเข้าไปยังบราวเซอร์แทนแต่ บราวเซอร์ดังกล่าวนี้สามารถควบคุมการทำงานทุกส่วนของคอมพิวเ ตอร์ได้เหมือนระบบปฏิบัติการ ความโดดเด่นของระบบปฏิบัติการ Cloud ก็คือ ความเร็วในการบูตเครื่องขึ้นมาใช้งาน เพราะใช้เวลาเพียงสองวินาทีหลังกดปุ่มเปิดเครื่อง ก็เริ่มใช้งานได้ทันที ขณะเดียวกันยังเรียกร้องทรัพยากรเครื่องต่ำสเป็กขั้นต่ำใช้แรมเพียง 128 เมกะไบต์ ต้องการพื้นที่ฮาร์ดดิสก์แค่ 35 เมกะไบต์พัฒนา และออกแบบมาให้ใช้สำหรับ เน็ตบุ๊กโดยเฉพาะ ซึ่งก็คงจะเป็นแบบ โออีเอ็ม คือ เจรจากับผู้ผลิตให้นำไปลงเครื่องก่อนขายให้ลูกค้าแบบเดียวกับที ่ทำมากับเดสก์ทอปนั่นเอง ซึ่งเจ้าแรกที่จับมือเป็นพันธมิตรก็คือ Gigabyte สำหรับ รูปร่างหน้าตาของ Cloud ที่ออกมา พื้นฐานเหมือนเดิมคือเป็นด็อคแบบแมคอินทอช ไอคอน ของแอปพลิเคชั่นต่างๆ จะอยู่ด้านล่าง แต่ผสมส่วนของ บราวเซอร์เข้ามาทำให้ดูเหมือน "Chrome" ของกูเกิล เพียงแต่ Cloud เป็นระบบปฏฺบัติการในตัวเองที่เป็นอิสระ สามารถใช้งานได้โดยไม่ต้องพึ่งพิงระบบปฏิบัติการอื่น แต่สามารถติดตั้งระบบปฏิบัติการอื่นร่วมด้วย และการสลับไปใช้ระบบปฏิบัติการอื่นๆ ในเครื่องไม่ว่าจะเป็นวินโดวส์ ลีนุกซ์ หรือ แมคอินทอชก็ทำได้โดยง่าย สำหรับตัว gOS นั้นเป็นระบบปฏิบัติการลีนุกซ์ที่พัฒนาต่อยอดมาจาก "อูบุนตู" แต่เน้นเป็นพิเศษในการใช้ "เว็บ แอปพลิเคชั่น"รูปร่างหน้าตาโดย พื้นฐานจะคล้ายกับ Chrome ของ กูเกิล แต่ต่างกันก็ตรงที่ Cloud เป็นระบบปฏิบัติการในตัวเองด้วย สามารถทำงานอย่าง เป็นอิสระจากวินโดวส์ หรือ ลีนุกซ์ ในเครื่องได้และสามารถใช้งานร่วมกับระบบปฏิบัติการอื่นๆ ได้ทุกระบบปฏิบัติการ

Cloud พัฒนามาสำหรับใช้กับเน็ตบุ๊กโดยเฉพาะ อย่างไรก็ตาม ตามแผนของ Good OS เน็ตบุ๊กที่จะติดตั้ง Cloud ซึ่งจะมีบางยี่ห้อออกมาขายราวๆ ต้นปีถึงกลางปีหน้า จะติดตั้งวินโดวส์เอ็กซ์พี และ Cloud ไปด้วยกัน

clip_image014

รูปที่ 7

ล่า สุด Good OS เปิดตัวระบบปฏิบัติการแบบใหม่ gOS Cloud ที่ทำงานผ่านเว็บบราวเซอร์ เวลาบูตเครื่องขึ้นมาแทนที่มันจะเข้าไปยังเดสก์ทอปปกติเหมือนระบบปฏิบัติการ อื่นๆ ที่ใช้กันจนคุ้นเคย Cloud จะพาเราเข้าไปยังบราวเซอร์แทนแต่ บราวเซอร์ดังกล่าวนี้สามารถควบคุมการทำงานทุกส่วนของคอมพิวเตอร์ได้เหมือน ระบบปฏิบัติการ ความโดดเด่นของระบบปฏิบัติการ Cloud ก็คือ ความเร็วในการบูตเครื่องขึ้นมาใช้งาน เพราะใช้เวลาเพียงสองวินาทีหลังกดปุ่มเปิดเครื่อง ก็เริ่มใช้งานได้ทันที ขณะเดียวกันยังเรียกร้องทรัพยากรเครื่องต่ำ พัฒนา และออกแบบมาให้ใช้สำหรับ เน็ตบุ๊กโดยเฉพาะ ซึ่งก็คงจะเป็นแบบ โออีเอ็ม คือ เจรจากับผู้ผลิตให้นำไปลงเครื่องก่อนขายให้ลูกค้าแบบเดียวกับที่ทำมากับ เดสก์ทอปนั่นเอง ซึ่งเจ้าแรกที่จับมือเป็นพันธมิตรก็คือ Gigabyteสำหรับ รูปร่างหน้าตาของ Cloud ที่ออกมา พื้นฐานเหมือนเดิมคือเป็นด็อคแบบแมคอินทอช ไอคอน ของแอปพลิเคชั่นต่างๆ จะอยู่ด้านล่าง แต่ผสมส่วนของ บราวเซอร์เข้ามาทำให้ดูเหมือน "Chrome" ของกูเกิล เพียงแต่ Cloud เป็นระบบปฏฺบัติการในตัวเองที่เป็นอิสระ สามารถใช้งานได้โดยไม่ต้องพึ่งพิงระบบปฏิบัติการอื่น แต่สามารถติดตั้งระบบปฏิบัติการอื่นร่วมด้วย และการสลับไปใช้ระบบปฏิบัติการอื่นๆ ในเครื่องไม่ว่าจะเป็นวินโดวส์ ลีนุกซ์ หรือ แมคอินทอชก็ทำได้โดยง่าย สำหรับตัว gOS นั้นเป็นระบบปฏิบัติการลีนุกซ์ที่พัฒนาต่อยอดมาจาก "อูบุนตู" แต่เน้นเป็นพิเศษในการใช้ "เว็บแอปพลิเคชั่น" รูปร่างหน้าตาโดย พื้นฐานจะคล้ายกับ Chrome ของ กูเกิล แต่ต่างกันก็ตรงที่ Cloud เป็นระบบปฏิบัติการในตัวเองด้วย สามารถทำงานอย่าง เป็นอิสระจากวินโดวส์ หรือ ลีนุกซ์ ในเครื่องได้และสามารถใช้งานร่วมกับระบบปฏิบัติการอื่นๆ ได้ทุกระบบปฏิบัติการ Cloud พัฒนามาสำหรับใช้กับเน็ตบุ๊กโดยเฉพาะ อย่างไรก็ตาม ตามแผนของ Good OS เน็ตบุ๊กที่จะติดตั้ง Cloudซึ่งจะมีบางยี่ห้อออกมาขายราวๆ ต้นปีถึงกลางปีหน้า จะติดตั้งวินโดวส์เอ็กซ์พี และ Cloud ไปด้วยกัน

clip_image016

รูปที่ 8

Google App Engine

Google App Engine เป็นหมัดเด็ดของ Google ที่ออกมาเพื่อต่อกรกับ Amazon Web Services ของ Amazonโดยเฉพาะในขณะที่ AWS มีบริการให้ใช้คือ S3 (เก็บข้อมูล), EC2 (ประมวลผล) และ SimpleDB (ฐานข้อมูล) แต่ละบริการจะแยกออกจากกัน จะใช้ทั้งหมดหรือแค่ตัวใดตัวหนึ่งก็ได้ แต่สำหรับบริการของ Google App Engine จะต่างออกไป โดย Google จะให้บริการแบบครบวงจรกว่า แยกใช้งานแบบเป็นบริการเดี่ยวๆ ไม่ได้ บริการของ Google App Engine จะมีลักษณะเป็นการให้บริการ infrastructure ที่ระดับ high-level มากกว่า โดยสามารถรัน application ที่เขียนด้วยภาษา python เท่านั้น (ภาษาอื่นจะตามมาในอนาคต) ทาง Google จะมี SDK มาให้นักพัฒนาสามารถเขียนโปรแกรมทดสอบในเครื่องตัวเองได้ก่อน แล้วนำมา deploy ลงในระบบของ Google App Engine ทีหลังได้ โดยระบบเก็บข้อมูลจะใช้ GFS และใช้ฐานข้อมูล BigTable

Google App Engine ในช่วงแรกจะเปิดแบบ beta ให้นักพัฒนา 10,000 คนแรก และจำกัดการใช้งานไว้ที่เนื้อที่ 500 MB และ bandwidth ไม่เกิน 10 GB ต่อวัน หลังจากนั้นเมื่อเปิดเต็มตัวแล้วจะมีโมเดลเก็บเงินอีกครั้งหนึ่ง (ยังไม่กำหนดราคา) ในช่วงปี 2005 ตอนนั้น Google ไปจ้าง Guido Van Rossum คนสร้างภาษา python เข้ามาทำงานด้วย เป็นข่าวฮือฮาอยู่พักนึงว่า Google จะจ้างเอาไปทำอะไร แต่เจ้าตัวก็ติด NDA พูดอะไรมากไม่ได้ สุดท้ายเวลาผ่านไป 3 ปีก็ได้ Google App Engine ออกมาให้ได้ลองใช้กัน

clip_image018

รูปที่ 9

นอกจากนี้แล้ว Google App Engine ยังสนับสนุน Django ซึ่งเป็น web framework ยอดฮิตในภาษา python ด้วยทำให้การสร้าง application สามารถทำได้รวดเร็วยิ่งขึ้น (ตัวอย่างเว็บที่ใช้ django ก็เช่น Pownce, Revver) เปรียบเทียบกันแล้ว Google App Engine ยังเป็นรอง Amazon Web Service อยู่พอสมควร เนื่องจากที่ว่ามันใช้ได้แค่ python ภาษาเดียวเท่านั้น ซึ่งจำนวนนักพัฒนา python (สำหรับเว็บ) เมื่อเทียบกับ PHP หรือ Ruby แล้วยังห่างกันเยอะมาก และในปัจจุบัน application จำนวนมากพิสูจน์แล้วว่า AWS นั้นสามารถใช้งานได้ในระดับใหญ่จริง (เช่น Twitter, Pownce, Slideshare ฯลฯ) นักพัฒนาที่มี application เก่าที่เป็นภาษาอื่น คงยากที่จะยอมย้ายมาลงบน platform ของ Google สู้ไปใช้งาน AWS เฉพาะในส่วนที่จำเป็นจะดีกว่า อันนี้ก็เป็นปัญหาของ Google ต่อไปที่ต้องเร่งมือทำให้ Google App Engine รองรับภาษาอื่นมากขึ้น ถ้าให้เดา ภาษาถัดไปน่าจะเป็น Ruby (คนต่อไปที่จะโดนจ้างอาจเป็น MatZ หรือ David Heinemeier Hansson) บริการงานด้าน on demand customer relationship management ของ Salesforce ที่ให้บริการโซลูชั่น ด้าน CRM หลากหลายขนาดที่ผู้ใช้สามารถปรับเปลี่ยนขนาดความสามารถของโซลูชั่นได้ตามต้องกา

ฮาร์ดแวร์กลุ่มเมฆ (Cloud Hardware)

อุปกรณ์ที่ขึ้นต่อกลุ่มเมฆ กล่าวคือไม่สามารถทำงานด้านการประมวลผลด้วยตนเอง แต่ต้องอาศัยทรัพยากรไอทีบนเครือข่ายในการประมวลผล ทำหน้าที่เป็นเทอร์มินอลแสดงส่วนติดต่อกับผู้ใช้ (User Interface) และรับส่งข้อมูลคำสั่ง เพื่อสื่อสารกับบริการต่าง ๆ ของระบบประมวลผลกลุ่มเมฆ เช่น Iphone , Android , CherryPal , ONLIVE

เชอร์รี่พาว เป็นบริการคอมพิวเตอร์กลุ่มเมฆสำหรับผู้ใช้ระดับบุคคล ประกอบด้วยส่วนเชอร์รี่พาว เดสก์ท็อป (ซี

100) และบริการเชอร์รี่พาว คลาวด์ (CherryPal Cloud) เชอร์รี่พาว ซี 100 มีขนาดเล็ก 5.8" x 4.2" x 1.5" น้ำหนัก 10 ออนซ์ ใช้พลังงานไฟฟ้าน้อยกว่าเครื่องเดสท้อปทั่วไปประมาณ 80%

คุณสมบัติของเชอรรี่พาว เดสก์ท็อป ซี 100

Freescale's MPC5121e mobileGT processor

800 MPS(400 MHz)

256 MB of DDR2 DRAM

4GB NAND Flash-Based solid state drive

WiFi 802.11 b/g Wi-Fi

Two USB 2.0 ports

One 10/100 Ethernet with RJ-45 jack

One VGA DB-15 display out jack

Headphone level stereo audio out 3.5mm jack

9vDC 2.5mm 10 watt AC-DC adapter power supply

clip_image020 clip_image022

รูปที่ 10

บริการเชอร์รี่พาวคลาวด์

  • · บริการหน่วยความจำพื้นที่ขนาด 50GB
  • · ส่วนติดต่อผู้ใช้ Cherrypalcloud interface
  • · บริการอัพเดทซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัส
  • · บริการแอพพลิเคชั่น iTunes OpenOffice instant messenger และ media player

OnLive"บริการเล่นเกมไร้แผ่น! ผ่านเครื่อง"MicroConsole"

นวัตกรรมเครื่องเล่นเกมอาจจะกำลังเปลี่ยนไปก็ย่อมได้ เมื่อบริษัทหัวใส “Rearden Studios” ได้คิดค้นรูปแบบของการให้บริการเกมใหม่ออกสู่ตลาดในชื่อ “ออนไลฟ์” (OnLive) พร้อมกับเจ้าผลิตภัณฑ์ขนาดกะทัดรัด “ไมโครคอนโซล” (MicroConsole) และจอยควบคุมเกมหน้าตาธรรมดาตัวหนึ่ง ด้วยโมเดลที่ไม่ต้องใช้แผ่นเกมเล่น

clip_image024

รูปที่ 11

สำหรับ“OnLive” นั้น หากจะอธิบายกันง่ายๆก็คือ ช่องทางหนึ่งในการเล่นเกมออนไลน์โดยที่ไม่ต้องซื้อแผ่นเกม หลักการคล้ายๆกับโครงการเครื่องเกมคอนโซลที่ชื่อ “Phantom” (พับโครงการไปแล้ว ก่อนออกมาขายจริง) หรือเครื่องเกมอีกตัวที่ชื่อ “Zeebo”

clip_image026

รูปที่ 12

แกนนำหลักของ Rearden Studios นั้น ประกอบด้วย “Steve Perlman” เป็นผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และ “Mike McGarvey” ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ โดยบริษัทได้วางเป้าหมายเพื่อที่จะหาหนทางใหม่ในการ streaming video ที่บริษัทสร้างขึ้น (เทคโนโลยีการส่งภาพและเสียงบนอินเทอร์เน็ตจากเซิรฟ์ เวอร์ไปยังผู้ชม) เรียกว่า "interactive video compression" ซึ่งบริษัทพัฒนาจนมีค่าความหน่วงเวลาในการส่งข้อมูลที่ต่ำมากๆ ราวหลักมิลลิวินาที Rearden ได้นำเทคโนโลยีนี้มาใช้ โดยวางแผนในการติดตั้งเซิร์ฟเวอร์ 5 ตัวทั่วประเทศ ซึ่งทำหน้าที่เป็นโฮสต์วิดีโอเกมต่างๆ และส่ง streaming video ของเกมไปยังเครื่อง Mac,PC หรือจอทีวีที่บ้านคุณ รายงานข่าวระบุว่า OnLive ใช้เวลาพัฒนามา 7 ปี ด้วยคอนเซ็ปต์ที่ไม่จำเป็นต้องใช้เครื่อง PC ประสิทธิภาพสูงเพื่อที่จะเล่นเกมภาพกราฟิกระดับเทพอย่าง Crysis เพียงแค่ใช้จอยส่งคำสั่งควบคุมเกมเข้าไปยังเซิร์ฟเวอร์ ซึ่งกินแบนด์วิธน้อยมาก (ปริมาณข้อมูลที่คุณรับเข้าและส่งออกในช่วงเวลาหนึ่ง) และถูกส่งกลับมาในแบบเรียลไทม์

clip_image028

รูปที่ 13

เครื่อง “ไมโครคอนโซล” ที่ Rearden พัฒนาขึ้น เป็นเครื่องที่จำเป็นต้องใช้ หากจะเล่นเกมบนจอทีวี บนตัวเครื่องมีช่องต่อสัญญาณต่างๆมากมาย อาทิ พอร์ตออปติคัล,พอร์ต HDMI,ช่องต่อสายอีเทอร์เน็ต และจ่ายไฟให้เครื่องทำงานด้วยพอร์ตไมโคร USB ผู้เล่นสามารถเชื่อมต่อจอยควบคุมแบบไร้สายได้ 4 ตัว และชุดหูฟังบลูทูธได้ 4 ตัว นอกจากนี้ยังมีพอร์ต USB 2 ช่อง เอาไว้สำหรับต่อกับคีย์บอร์ดและเมาส์ได้ หรืออาจจะใช้ฮับ USB 4 พอร์ตมาต่ออีกทีก็ย่อมได้ แต่หากเราใช้เครื่อง Mac และ PC มาแสดงผลภาพในการเล่น อาจจะต้องไปดาวน์โหลดเบราเซอร์ ปลั๊กอินตัวหนึ่งมาใช้ ซึ่งมีขนาดเล็กกว่าหนึ่งเมกกะไบต์

บริการโครงสร้างพื้นฐานกลุ่มเมฆ (Cloud Infrastructure)

ผู้ให้บริการนำความสามารถของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ด้านการประมวลผลมาให้บริการผ่านเครือข่าย โดยเป็นโครงสร้างพื้นฐานสำหรับสภาพแวดล้อมเสมือนจริงของแพลทฟอร์ม (Platform Virtualization Environment) ผู้ให้บริการในปัจจุบันเช่น Amazon Elastic Compute Cloud , Skytap , Sun Grid

บริการแพลทฟอร์มกลุ่มเมฆ (Cloud Platform)

มาตรฐานให้แก่ผู้พัฒนาแอพพลิเคชั่น ตัวอย่างผู้ให้บริการแพลทฟอร์มกลุ่มเมฆ เช่น Google App Engine , Heroku , Mosso , Engine Yard , Joyent , force.com(Saleforce platform)

บริการระบบกลุ่มเมฆ (Cloud Software System)

บริการซอฟต์แวร์ระบบเพื่อรองรับการทำงานร่วมกันของเครื่องคอมพิวเตอร์บนเครือข่าย ในระดับกลุ่มเมฆ กับ กลุ่มเมฆ และระดับผู้ใช้กับกลุ่มเมฆ เช่น Amazon Web Service , Amazon Simple Queue Service , Amazon Mechanical Turk

บริการจัดเก็บข้อมูลกลุ่มเมฆ (Cloud Storage)

แนวคิดศูนย์ข้อมูลแบบ Super Data Center โดยนำความสามารถด้านหน่วยความจำไปให้บริการบนเครือข่ายรวมทั้งบริการด้านฐานข้อมูล (Database) โดยมีการคิดค่าบริการตามการใช้งานจริง เช่น Amazon Simple Storage Service , Amazon SimpleDB , Live Mesh , Mobile Me

Cloud Computing กับความปลอดภัย

ในประเด็นเรื่องความปลอดภัยนั้น อันที่จริงในเชิงเทคนิคลูกค้าหรือผู้ใช้บริการสามารถทำได้ในระดับหนึ่ง เช่น การทำ Virtualization โดยลูกค้ามีสิทธิ์เต็มที่ในลักษณะของผู้ดูแลระบบเพื่อการกำหนดความปลอดภัยให้กับเครื่อง หรือ Virtual Machine ของตน, การใช้ระบบแจ้งเตือนเมื่อมีผู้ดูแลระบบพยายามดูข้อมูลของลูกค้า และการ Monitoring ทั้งห้อง data center จนถึงขั้น capture หน้าจอ admin แต่ทั้งนี้ยังคงมีจุดอ่อนสำคัญที่ผู้ใช้บริการควรตระหนักถึง นั่นคือ เมื่อเป็นการจ้างให้บุคคลภายนอกเข้ามาดูแลระบบของเรา เราจะมั่นใจได้อย่างไรว่าคนนั้นจะไม่แอบเก็บข้อมูลไปใช้เพื่อประโยชน์ของตนเองหรือเปิดเผยข้อมูลแก่บุคคลอื่น ยิ่งถ้าเป็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงของประเทศ ข้อมูลยิ่งเป็นสิ่งที่สำคัญมากๆ หรือถ้าเป็นองค์กรทางด้านการเงิน ถึงแม้เราจะมีระบบตรวจสอบ หรือ audit เพื่อติดตามว่าใครทำอะไร ตรงไหน แต่เมื่อเกิดเหตุและจับได้ก็คงทำได้แค่ลงโทษตามกฎบริษัทหรือดำเนินคดีตามกฎหมาย แต่ความเสียหายได้เกิดขึ้นแล้ว อย่างไรก็ตามไม่ว่าจะเป็นการจัดจ้างบุคคลภายนอก (outsourcing) หรือ ใช้บุคลากรภายใน เหตุการณ์เช่นนี้ก็สามารถเกิดขึ้นได้ ดังนั้นเราต่างต้องอาศัยความเชื่อใจและใช้จรรยาบรรณในการประกอบอาชีพ สิ่งที่ผู้ให้บริการ Cloud หรือ Cloud Provider ทำให้ได้ ก็คือ การรับประกันสัญญา หรือกำหนดมาตรฐานการดูแลระบบ และยึดมั่นในมาตรฐานนั้น นอกจากนี้ควรมีการควบคุมการเปิดให้บริการของ Cloud Provider นั่นคือ มีการกำหนดว่าบริษัทที่จะเป็น Cloud Provider ได้ อาจต้องได้รับการรับรอง หรือมี certification อะไรรับรองบ้าง ต้องมี ISO ควบคุม และต้องมีเทคโนโลยีความปลอดภัยอะไรเสนอต่อลูกค้า (Cloud Consumer) บ้าง เป็นต้น จากปรากฏการณ์ที่มีความสนใจอย่างมากในการประมวลผลแบบก้อนเมฆ ซึ่งผู้รู้หลายคนมีความเห็นว่าเทคโนโลยีดังกล่าวจะทำการเปลี่ยนแปลงแนวทางการดำเนินธุรกิจทางด้านระบบสารสนเทศในอนาคต ทางบริษัท Gartner ได้ให้คำแนะนำว่าเทคโนโลยีดังกล่าวก็มีปัญหาที่เกี่ยวข้องกับระบบความมั่นคงปลอดภัย โดยบริษัท Gartner ได้แนะนำว่าควรมีการตรวจประเมินความมั่นคงปลอดภัยของการใช้บริการประเภทดังกล่าวก่อน โดยได้ให้ข้อมูลเบื้องต้นในสิ่งที่ต้องพึงระวังในแง่ของความมั่งคงปลอดภัยในการใช้งานระบบ Could Computing ดังต่อไปนี้

1) การเข้าถึงของผู้ใช้งาน ให้ตรวจสอบว่าผู้ให้บริการประมวลผลแบบก้อนเมฆนั้นมีกระบวนการอย่างไรในการควบคุมผู้บริหารจัดการดูแลระบบซึ่งสามารถเข้าถึงข้อมูลที่สำคัญ ๆ ในระบบ เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ที่ไม่มีสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลสามารถเข้าถึงข้อมูลได้

2) การดำเนินการตามมาตรฐานความมั่นคงปลอดภัย ควรเลือกใช้บริษัทที่ให้บริการประมวลผลแบบก้อนเมฆที่มีการทำการตรวจประเมินโดยผู้ตรวจประเมินจากภายนอกและมีการผ่านกระบวนการรับรองมาตรฐานความมั่นคงปลอดภัย

3) ตำแหน่งของข้อมูล เนื่องจากในระบบการประมวลผลแบบ้ก้อนเมฆนั้น ข้อมูลสารสนเทศ จะสามารถถูกเก็บไว้ ณ ที่ใดก็ได้ ซึ่งบริษัทผู้ใช้บริการควรทราบว่าข้อมูลของบริษัทมีการเก็บรักษาไว้ที่ใด และผู้ให้บริการก็ควรจะยึดหลักของกฏหมายที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของความเป็นส่วนตัวในแต่ละพื้นที่ด้วย

4) การแยกแยะกลุ่มข้อมูล เนื่องจากข้อมูลในก้อนเมฆนั้นมีการบันทึกในสภาพแวดล้อมที่ใช้ร่วมกันหลายบริษัท แต่ละบริษัทควรที่จะสอบถามผู้ให้บริการว่ามีวิธีการอย่างไรในการแยกกลุ่มของข้อมูลและวิธีการใดในการสร้างความมั่นคงปลอดภัยแก่ข้อมูล การใช้งานเทคนิคการเข้ารหัสข้อมุลสามารถช่วยได้แต่ต้องมีการหลีกเลี่ยงปัญหาข้อมูลสูญหายเนื่องจากเทคนิคการเข้ารหัสด้วย

5) การเก็บกู้ข้อมูล ต้องมีการสอบถามว่าเมื่อมีข้อมูลสูญหายแล้วบริษัทผู้ให้บริการมีมาตรการอย่างไรในการเก็บกู้ข้อมูลเมื่อเกิดปัญหา หัวใจสำคัญคือความสามารถในการเก็บกู้ข้อมูลกลับคืนได้ 100% ให้ตรวจสอบว่ามีการบันทึกข้อมูลและโปรแกรมประยุกต์สำรองในหลาย ๆ สถานที่หรือไม่

6) การสนับสนุนในแง่ของความมั่นคงปลอดภัย ซึ่งบริษัทผู้ให้บริการประมวลผลแบบก้อนเมฆ ควรที่จะให้บริการสอบสวนกิจกรรมที่ผิดกฏหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการบันทึกข้อมูลการใช้งานระบบและข้อมูลสารสนเทศที่มีแนวโน้มที่จะกระจายยังเครื่องแม่ข่ายหลายเครื่องและศูนย์ข้อมูลหลาย ๆ แห่ง

7) ความต่อเนื่องของบริการ ผู้ใช้งานต้องมีการพิจารณาถึงความต่อเนื่องของการให้บริการ โดยเฉพาะความมั่นคงของผู้ให้บริการ จะเกิดอะไรขึ้นหากบริษัทที่ให้บริการข้อมูลต้องปิดกิจการไปหรือถูกซื้อไป มีมาตรการอย่างไรในการเรียกข้อมูลคืนกลับมายังบริษัท

หลีกเลี่ยงผู้ให้บริการประมวลผลแบบก้อนเมฆจากบริษัทผู้ให้บริการ ที่ไม่ยอมเปิดเผยข้อมูลรายละเอียดของความมั่นคงปลอดภัย การดำเนินการตามมาตรฐาน และความต้องการทางเทคนิคอื่น ๆ

แนวโน้มการใช้งาน Cloud Computing

1) แนวโน้มการใช้งานเว็บ 2.0

เนื่องจากเทคโนโลยีเว็บ 2.0 ไฟล์ต่างๆบนเว็บจะถูกเปลี่ยนแปลงโดยผู้ใช้ทั่วโลกอยู่ตลอดเวลา cloud computing จึงเข้ามามีบทบาท

2) ความต้องการประสิทธิภาพทางด้านการประหยัดพลังงาน

เนื่องจากปัจจุบันองค์กรหรือหน่วยงานต่างๆหันมาให้ความสำคัญกับการประหยัดพลังงาน ซึ่ง cloud computing สามารถมาช่วยลดการใช้พลังงานเพราะสามารถลดหรือขยายขนาดได้ตามต้องการ โดยไม่ต้องทำการเปิดเครื่องทิ้งไว้

3) แนวโน้มความต้องการนวัตกรรมต่างๆในทางธุรกิจ

ปัจจุบันบริษัทต่างๆ มีการคิดค้นและนำเสนอนวัตกรรมใหม่ๆอยู่ตลอดเวลา ทำให้ cloud computing ซึ่งประมวลผลอย่างมีประสิทธิภาพ แต่เสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่า เข้ามามีความสำคัญ

4) ความต้องการความสะดวกสบายและง่ายในการใช้งานเทคโนโลยี

เทคโนโลยียิ่งมีความซับซ้อนเพิ่มขึ้น ผู้ใช้งานยิ่งต้องการให้ใช้งานได้ง่ายขึ้น ดังนั้น cloud computing ซึ่งสามารถช่วยขจัดความยุ่งยากต่างๆเข้ามามีความสำคัญ

5) ปริมาณข้อมูลที่เพิ่มขึ้นตลอดเวลา

เนื่องจากปัจจุบัน ข้อมูลมีการอัพเดทอยู่ตลอดเวลา ทำให้มีขนาดใหญ่ขึ้น ด้วยความสามารถของ cloud computing ที่สามารถขยายได้อย่างไม่จำกัด เข้ามามีความสำคัญ

Cloud Computing แท้จริงคือธุรกิจรับประมวลผล

clip_image030

รูปที่ 14

นิยามที่แท้จริงของ Cloud Computing ก็คือการนำเครื่องคอมพิวเตอร์จำนวนมากมาเชื่อมต่อเข้าด้วยกัน คอมพิวเตอร์ทั้งหมดในกลุ่ม Cloud อาจไม่จำเป็นต้องติดตั้งอยู่ในสถานที่เดียวกัน แต่อาจมีการเชื่อมต่อผ่านเครือข่ายสื่อสารความเร็วสูง และที่สำคัญก็คือบรรดาคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกันเองนี้อาจไม่จำเป็นมีฮาร์ดแวร์และระบบปฏิบัติการเหมือนกันไปทั้งหมด ยกตัวอย่างเช่น ในกลุ่ม Cloud หนึ่งๆ อาจมีทั้งเครื่องพีซี และเครื่องแอปเปิล หรือมองอีกมุมหนึ่ง ระบบปฏิบัติการ (Operating System หรือ OS) ที่ใช้อาจมีอยู่หลายชนิด เป้าหมายของการนำเครื่องคอมพิวเตอร์มาเชื่อมต่อกันเช่นนี้ ก็เพื่อจะดึงพลังในการประมวลผล (Processing) ของคอมพิวเตอร์ทั้งหมดมาประสานกัน เพื่อนำไปใช้จัดการงานประมวลผลใหญ่ๆ ที่แต่เดิมอาจต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์คุณภาพสูง ต้นทุนมหาศาล แต่กับเทคโนโลยี Cloud Computing แล้ว ผู้ลงทุนสามารถลดต้นทุน และหันมาใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ราคาประหยัดมาทำงานร่วมกันแทน ถามก็คือ ตลาดและมูลค่าของธุรกิจสำหรับเทคโนโลยี Cloud Computing คืออะไร อยู่ที่ไหน และจะมีกระแสตอบรับมากเท่าใด เพื่อจะตอบคำถามทั้งหมดนี้ ลองพิจารณาถึงความจริงที่เกิดขึ้นในโลกปัจจุบันกันสัก 3 ข้อ

ข้อหนึ่ง องค์กรธุรกิจ หน่วยงานราชการ ไปจนถึงสถานศึกษาในปัจจุบัน ล้วนมีความเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนสร้างระบบเครือข่ายข้อมูลสารสนเทศภายในองค์กร ติดตั้งระบบฐานข้อมูล มีการลงทุนซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์เซิร์ฟเวอร์เพื่อทำหน้าที่ประมวลผลและให้บริการต่างๆ ภายในองค์กร ที่น่าสนใจก็คืองบประมาณการลงทุนในเทคโนโลยีไอซีทีเหล่านี้มีมูลค่าสูง ประกอบกับทั้งองค์กรจำเป็นต้องมีการลงทุนอย่างต่อเนื่อง ด้วยสาเหตุง่ายๆ คือ ข้อมูลมีการเพิ่มขึ้นตลอดเวลา มีการพัฒนาแอพพลิเคชั่นสำหรับใช้งานในองค์กรมากขึ้น การลงทุนขยายหรือบางครั้งอาจถึงขั้นเปลี่ยนเครื่องคอมพิวเตอร์เซิร์ฟเวอร์ ซึ่งท้ายที่สุดย่อมตามมาด้วยการซื้อหรือขยายซอฟต์แวร์เพื่อให้สัมพันธ์กับขนาดของเซิร์ฟเวอร์ที่เปลี่ยนไป เสมือนเงาตามตัว นอกจากนั้นยังมีเรื่องของค่าบำรุงรักษาระบบ ซึ่งเมื่อนับรวมๆ แล้วก็เป็นค่าใช้จ่ายมูลค่ามหาศาลที่องค์กรต่างๆ มิอาจหลีกเลี่ยงได้

ข้อที่สอง ค่าใช้จ่ายในการนำเครื่องคอมพิวเตอร์หลายหลายตระกูลมาเชื่อมต่อกัน โดยใช้วงจรสื่อสารโทรคมนาคมที่ปัจจุบันมีต้นทุนที่ต่ำกว่าในอดีตมาก พร้อมกับนำเทคโนโลยีซอฟต์แวร์ Virtual Machine ที่ทำหน้าที่เป็นเสมือนล่ามคนกลาง ติดตั้งไว้บนบรรดาเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มาเชื่อมต่อกันเป็น Cloud Computing เพื่อให้เครื่องทั้งหมดสามารถรับคำสั่งและร่วมกันทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูลปริมาณมหาศาลได้ หรืออาจสั่งการให้คอมพิวเตอร์แต่ละกลุ่มแยกกันทำงานย่อยๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย ทั้งหมดเป็นเรื่องจริงที่ใช้ต้นทุนไม่มาก อีกทั้งบรรดายักษ์ใหญ่ในวงการอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์และสื่อสารข้อมูล ไม่ว่าจะเป็น Amazon, Google หรือกระทั่ง Microsoft ต่างก็ให้การสนับสนุนพัฒนามาตรฐานและแอพพลิเคชั่นสำหรับเสริมขีดความสามารถให้กับการประมวลผลแบบ Cloud Computing มากขึ้น จึงกลายเป็นว่า เทคโนโลยี Cloud Computing พร้อมที่จะก้าวออกจากความเป็นนวัตกรรม ไปสู่โลกทางธุรกิจอย่างเต็มตัว

ข้อที่สาม แนวคิดในเรื่องของการว่าจ้างให้ผู้อื่นทำงานแทน หรือที่นิยมเรียกกันว่า Outsourcing ซึ่งได้กลายเป็นเรื่องปกติสำหรับการทำธุรกิจด้านสารสนเทศไปแล้ว กำลังขยายขอบเขตมาสู่การพลิกกรอบความคิดของผู้ประกอบการทั่วโลก ด้วยแนวคิดง่ายๆ ที่ว่า “จะต้องลงทุนสร้างคอมพิวเตอร์เซิร์ฟเวอร์สำหรับรองรับการใช้งานภายในองค์กรไปทำไม ในเมื่อสามารถว่าจ้างให้บริษัทผู้เชี่ยวชาญรับประมวลผลข้อมูลให้แทน ตราบใดที่ผู้เชี่ยวชาญสามารถรับประกันคุณภาพ ความต่อเนื่อง และมีการป้องกันการรั่วไหลของข้อมูลได้”

ทั้งสามปัจจัยหลักนำไปสู่แนวคิดของการว่าจ้างให้ผู้ประกอบการที่ลงทุนสร้างเครือข่าย Cloud Computing รับผิดชอบประมวลผลข้อมูลให้กับหน่วยงานหรือองค์กรต่างๆ โดยที่องค์กรเหล่านั้นจะได้สามารถลดต้นทุนด้านฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ลงอย่างมหาศาล และเปลี่ยนการลงทุนแบบ Capital Expense ซึ่งต้องผูกพันกับการคิดค่าเสื่อมราคา มาเป็น Operating Expense ในรูปแบบของการทำสัญญาว่าจ้าง ซึ่งสามารถนำไปคิดหักภาษีได้โดยตรง นอกจากนั้น องค์กรต่างๆ ก็ไม่จำเป็นต้องวุ่นวายกับการลงทุนเพิ่มเติมในอันที่จะอัพเกรด หรือเปลี่ยนระบบคอมพิวเตอร์ประมวลผลส่วนกลางของตน ที่สำคัญก็คือสามารถเปลี่ยนตัวผู้ประกอบการ Cloud Computing ได้ตามต้องการ หากพบว่าคู่สัญญาของตนให้บริการได้ไม่เป็นที่พอใจ ถ้าจะเปรียบเทียบให้เห็นชัด ก็น่าจะมองได้ว่า ธุรกิจ Cloud Computing ก็เหมือนกับสาธารณูปโภคพื้นฐานต่างๆ เช่น ไฟฟ้า น้ำประปา ซึ่งเป็นของส่วนกลาง ประชาชนหรือผู้บริโภคไม่จำเป็นต้องลงทุนสร้างเครื่องปั่นไฟหรือเครื่องทำน้ำประปาสำหรับใช้ในบ้านเรือนของตนเอง หากแต่มีหน่วยงานกลาง เช่น การไฟฟ้า หรือการประปา เป็นผู้รับผิดชอบลงทุนสร้างโรงไฟฟ้าและโรงประปา แล้ววางโครงข่ายเพื่อจ่ายไฟฟ้าและน้ำประปานั้นมาสู่บ้านเรือนหรืออาคารสถานที่ธุรกิจ ผู้บริโภคมีหน้าที่เพียงชำระค่าบริการ โดยมีการทำสัญญากันเป็นหลักฐานระหว่างผู้ประกอบการ ซึ่งก็คือการไฟฟ้า และการประปา กับผู้บริโภคแต่ละราย ในบางสังคมที่มีผู้ประกอบการไฟฟ้า หรือประปา มากกว่าหนึ่งราย ผู้บริโภคก็มีทางเลือกที่จะเปลี่ยนตัวผู้ให้บริการได้หากไม่พึงพอใจในคุณภาพการให้บริการ หรือเมื่อพบว่าผู้ประกอบการรายอื่นๆ เสนอทางเลือกหรือโปรโมชั่นที่ตนถูกใจมากกว่า ซึ่งเมื่อขยายความไปถึงสาธารณูปโภคอื่นๆ เช่น โรงพยาบาล โทรศัพท์ โทรศัพท์เคลื่อนที่ อินเทอร์เน็ต ฯลฯ ก็จะเห็นได้ว่า Cloud Computing ก็กำลังอยู่ในสภาพที่ไม่ต่างกัน

องค์กรต่างๆ จะลงทุนสร้างคอมพิวเตอร์เซิร์ฟเวอร์เพื่อประมวลผลให้บริการภายในองค์กรไปทำไม หากต้นทุนการว่าจ้างผู้ประกอบการ Cloud Computing ให้รับประมวลผลข้อมูลแทนมีราคาเฉลี่ยต่ำกว่า เทคโนโลยีมีความเชื่อถือได้ อีกทั้งโครงข่ายสื่อสารโทรคมนาคมความเร็วสูงก็มีพร้อม

Cloud Computing in Thailand

ในอนาคต cloud computing จะเข้ามามีบทบาทสำคัญและก่อประโยชน์ให้กับผู้ประกอบการซอฟแวร์ไทย เพราะ cloud computing เหมาะแก่แอปพริเคชั่นพื้นฐานที่มีผู้ใช้งานจำนวนมาก และยังช่วยลดต้นทุนให้กับผู้ประกอบการ เพราะไม่ต้องลงทุนสร้างเครือข่าย และสามารถพัฒนาซอฟแวร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ใครๆก็สามารถตั้งตนเป็นผู้ให้บริการ Cloud Computing ได้ ขอเพียงแต่สามารถลงทุนเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน และมีซอฟต์แวร์และระบบบริหารจัดการทรัพยากรคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพ อีกทั้งสามารถจัดหาวงจรอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงเพื่อเชื่อมต่อไปโครงข่าย Cloud Computing เข้าด้วยกัน ในกรณีที่มีการแยกอาคารสถานที่ติดตั้ง

clip_image032

รูปที่ 15

การพัฒนาขีดความสามารถของโครงข่ายสื่อสารข้อมูล โดยเฉพาะอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง และหากจะให้ดีก็น่าจะเป็นการเตรียมความพร้อมให้กับเทคโนโลยีใหม่ๆ เช่น ใยแก้วนำแสง ซึ่งปัจจุบันรองรับด้วยเทคโนโลยี FTTH (Fiber To The Home) จะช่วยทำให้องค์กรธุรกิจหรือหน่วยงานต่างๆ สามารถเชื่อมต่อกับผู้ประกอบการ Cloud Computing ด้วยวงจรสื่อสารความเร็วสูง และจะได้ลดข้อจำกัดในเรื่องของความเร็วในการเชื่อมต่อลงได้ อาจกกล่าวได้อีกอย่างหนึ่งว่า นอกเหนือจากพฤติกรรมหรือไลฟ์สไตล์ผู้บริโภคที่นิยมการใช้งานอินเทอร์เน็ตเพื่อรับสื่อมัลติมีเดียแล้ว กระแสความนิยมในบริการ Cloud Computing ของภาคธุรกิจหรือหน่วยงานต่างๆ ก็จะเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ผลักดันให้มีการขยายเพิ่มขีดความสามารถของโครงข่ายบรอดแบนด์ในประเทศไทย ปัจจุบันมีบริษัทขนาดเล็กหลายแห่งในประเทศไทย ลงทุนสร้างเครือข่าย Cloud Computing รับประมวลผลให้กับลูกค้าองค์กรที่เป็นบริษัทขนาดย่อมๆ กันแล้ว เมื่อใดก็ตามที่กระแสความนิยมในเทคโนโลยี Cloud Computing ในบ้านเราเปิดกว้างมากขึ้น ประกอบกับการขยายขีดความสามารถของเครือข่ายบรอดแบนด์อย่างต่อเนื่อง เราจะได้เห็นการเติบโตแบบก้าวกระโดดของธุรกิจใหม่นี้อย่างแน่นอน เชื่อได้เลยว่าอนาคตที่ว่านั้นอยู่ไม่ไกลเกินไปนัก

ความคิดเห็นเกี่ยวกับ Cloud Computing
ในอนาคต cloud computing จะมีประโยชน์ในหลายๆด้าน สร้างความสะดวกสบายให้กับผู้ใช้งาน ซึ่งหากทุกคนหันมาใช้ Cloud Computing กันหมดก็คงไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์หรือ โน้ตบุคเพื่อรันโปรแกรมเพื่อใช้งานตามต้องการ ขอแค่มี netbook หรืออะไรก็ตามๆเล็กๆที่สามารถใช้อินเตอร์เน็ตและแสดงผลได้ก็เพียงพอ แล้วปล่อยให้เซอเวอร์ทำงานและส่งผลรับที่ได้ออกมาทางจอภาพก็เพียงพอแล้ว

ทิศทางการเคลื่อนไหวของ Cloud Computing และบทสรุป

Cloud Computing มียักษ์ใหญ่หลายค่ายให้ความสนใจ และทำวิจัยเรื่องนี้ โดยเฉพาะไอบีเอ็มยักษ์สีฟ้า กล่าวถึงเรื่องนี้อย่างมากทีเดียว Cloud Computing เป็นการใช้บริการระบบสารสนเทศผ่านเครือข่าย โดยที่ผู้ใช้หรือองค์กรไม่ต้องลงทุนซื้อเครื่อง เช่นเซิร์ฟเวอร์, สตอเรจ แต่สามารถเช่าใช้บริการจากผู้ให้บริการได้ โดยผู้ให้บริการจะทำการบำรุงรักษา ดูแลระบบให้ผู้ใช้ด้วย คอนเซ็ปต์นี้คล้ายๆ กับ Software as a Service บริการเช่าใช้ซอฟต์แวร์ มีจุดเด่นก็คือ ผู้ใช้ไม่ต้องเสียเงินก้อนเพื่อซื้อซอฟต์แวร์ และไม่ต้องปวดหัวกับการอัพเดต แถมยังได้ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยอยู่ตลอด คอนเซ็ปต์ของ Cloud Computing ก็เช่นกัน คือ ผู้ใช้ไม่ต้องตั้งงบประมาณในแต่ละปีเพื่อพัฒนาระบบไอทีโดยที่แต่ละปีใช้งบ ประมาณไม่น้อย ไม่ต้องมีพนักงานฝ่ายไอทีจำนวนมากๆเพื่อดูแลระบบทั้งหมด ไม่ต้องปวดหัวกับการอัพเกรดเทคโนโลยี ไม่ต้องคิดว่าตัดสินใจถูกหรือผิดหากเลือกใช้เทคโนโลยีนี้ แถมยังได้ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยอยู่เสมอด้วยเพียงผู้ใช้จ่ายเป็น ค่าบริการ เช่น จ่ายเป็นรายเดือน หรือเป็นรายปีก็เท่านั้น ดูๆ แล้ว Cloud Computing จะอำนวยความสะดวกให้กับองค์กรธุรกิจหลายด้าน ไม่ต้องมานั่งเสียเวลากับงานที่ไม่ใช่ Core Business ซึ่งจะทำให้ผู้บริหารมุ่งพัฒนาธุรกิจได้อย่างจริงจังโดยไม่ต้องกังวลว่าถ้า ต้องทำโปรโมชันที่ซับซ้อนแล้วระบบสารสนเทศที่มีอยู่จะรองรับได้หรือไม่อย่าง ไร ซึ่งขณะนี้เองก็มีผู้ให้บริการ Cloud Computing เกิดขึ้นแล้ว เช่น Amazon,

AOL และ Google ในอนาคตมีแนวโน้มว่า Cloud Computing จะเข้ามาอำนวยความสะดวกต่อการใช้ระบบคอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์อย่างมาก เหมือนอย่างที่อินเทอร์เน็ตเข้ามาอำนวยความสะดวกต่อการติดต่อสื่อสารและการสืบค้นข้อมูลมาแล้ว

บรรณานุกรม

http://www.thaigaming.com/articles/60545.htm

http://www.narisa.com/blog/juacompe/index.php?showentry=1850

http://www.pittaya.com/2008/google-app-engine/

http://www.arip.co.th/news.php?id=408371

http://www.telecomjournal.net/index.php?option=com_content&task=view&id=2346&Itemid=48

http://www.tistr.or.th/tistrblog/?p=467

http://www.cybersecuritythailand.org/?q=node/16

http://javaboom.wordpress.com/2008/07/23/whatiscloudcomputing/

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

My GangZ